top of page

ประวัติความเป็นมา

11-1-2567 13-18-01.png
11-1-2567 13-22-02.png

ความเป็นมา เรียบเรียงจากบทความประวัติทันตาภิบาล โดย มรว.นิภัสร ลดาวัลย์  ลงในอนุสรณ์ทันตาภิบาล 7-9 (พ.ศ. 2520)

            เมื่อปี 2503 Dr.R.Harris ที่ปรึกษาทางด้านทันตกรรมขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำประเทศไทย  ได้เสนอแนะให้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางทันตกรรมขึ้นในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับโครงการทันตกรรม รัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 123/2503 แต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2503

       คณะกรรมการได้ให้ความเห็นข้อหนึ่งว่า รัฐบาลควรเห็นความสำคัญในการดูแลทันตสุขภาพแก่เด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพทั่วไปและป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุแพร่หลาย ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจในส่วนรวม คณะกรรมการได้เสนอให้จัดตั้งคลินิกไว้ในโรงเรียนและเห็นควรให้ทันตานามัยที่มีอยู่แล้วในขณะนั้น ทำหน้าที่ดูแลทันตสุขภาพเด็กในโรงเรียนเหล่านั้นภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ 1 คนต่อทันตานามัย 5 คน นอกจากนั้นยังเสนอให้จัดวางโครงการผลิตบุคลากรเข้าปฏิบัติราชการตามอัตราส่วนดังกล่าวด้วย

       ต่อมาปี พ.ศ. 2506 กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางทันตสาธารณสุข ตามข้อเสนอของที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ที่เสนอว่าโรคในช่องปากนั้นเป็นโรคสำคัญซึ่งจะทำให้สุขภาพของประชาชนดีหรือเสื่อมได้ และการจัดการเกี่ยวกับโรคในช่องปากของประชาชนนั้น ต้องทำทั้งในด้านส่งเสริมป้องกันและรักษา ด้วยความร่วมมือของส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินการ

       และคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มาจากหลายหน่วยงานทั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 คณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาเรื่องอบรมพนักงานทันตาภิบาลตามโครงการของกรมอนามัยและสรุปจากการได้ดังนี้

  1. หลักสูตร ควรมีระยะเวลา 2 ปี กรมอนามัยคัดเลือกเข้าเรียน ปีละ 50 คน

  2. ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีพื้นความรู้สอบไล่ได้ชั้น ม.ศ.5 และเป็นหญิง

  3. ผู้สำเร็จการอบรมแล้วไม่ต้องรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ให้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนเพื่อดูแลทันตสุขภาพเด็กนักเรียนภายใต้การควบคุมของทันตแพทย์

              แต่ยังไม่มีการอบรมทันตาภิบาลเลย จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2509 กรมอนามัยได้จัดทำแผนการอบรมขึ้น โดยจะรับผู้เข้าอบรมจากผู้ทีสำเร็จ ม.ศ.5 ระยะเวลาอบรม 1 ปี ครึ่ง และเมื่อจบหลักสูตรแล้ว จะแต่งตั้งให้ประจำอยู่ที่สถานีอนามัยชั้น 1 เพื่อป้องกันและรักษาโรคฟัน ให้แก่นักเรียนและประชาชน แต่ตอนนั้นยังไม่ดำเนินการเพราะขาดอุปกรณ์และสถานที่การอบรม และกำลังขอความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก

      ในปี พ.ศ. 2510 กรมอนามัยได้มอบหมายให้กองการศึกษาและฝึกอบรมดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลขึ้น และรับสมัครทันตแพทย์จำนวน 5 ท่าน เป็นผู้ฝึกอบรมดังรายชื่อต่อไปนี้

  1. ทพ.ถวิล       อานนท

  2. ทพญ.เรวดี    ต่อประดิษฐ

  3. ทพ.เลอพงษ์  ศาสตรสาธิต

  4. ทพญ.สมสุข  ศิวายพรามณ

  5. ทพญ.สังวรณ์  สุชาตานนท

     วันที่ 5 มิ.ย. 2510 กรมอนามัยจัดประชุมเพื่อปรึกษาเรื่องการจัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลและเห็นชอบในหลักการที่ว่า

  1. เห็นชอบในหลักการที่จะอบรมทันตาภิบาล

  2. ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีพื้นความรู้สอบไล่ได้ชั้น ม.ศ.5 และเป็นหญิง

  3. หน้าที่การปฏิบัติงานจะได้พิจารณาละเอียดโดยอนุกรรมการที่จะตั้งขึ้น

  4. ทันตาภิบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วจะประจำที่สถานีอนามัยชั้น 1 และให้ปฏิบัติงานที่โรงเรียน

  5. ผู้สำเร็จการอบรมแล้วไม่ต้องรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ

  6. คณะทันตแพทยศาสตร์ยินดีให้ความช่วยเหลือเรื่องวิชาการ

  โดยมีที่ปรึกษาจากองค์การอนามัยโลก Dr.G.H.Leslie ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัยประเทศนิวซีแลนด์ มาช่วยดำเนินการ เป็นเวลา 6 เดือน และขออนุมัติเงินจากแผนพัฒนาภาคตะวันออก จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อเป็นงบประมาณก่อสร้างตึกทันตาภิบาลเสร็จในปี 2511

ขอบเขตหน้าที่.png

ขอบเขตและหน้าที่ของทันตาภิบาล

 

      ทันตาภิบาลมีหน้าที่ดูแลทันตสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียน และเด็กชั้นประถมศึกษาอายุไม่เกิน 14 ปี  ภายในคลินิกของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีขอบเขตการปฏิบัติงานดังนี้

  1. ตรวจและบันทึกสภาวะผิดปกติของฟัน

  2. ทำความสะอาดฟัน

  3. อุดฟันถาวรและฟันน้ำนมที่ผ

  4. ถอนฟันน้ำนมและฟันถาวรโดยใช้ยาชาเฉพาะตำแหน่ง

  5. การทายาเพื่อป้องกันฟันผ

  6. พิจารณาจัดส่งเด็กที่มีปัญหาสบฟันผิดปกติหรือความพิการอื่นๆที่นอกเหนือจากการปฏิบัติงานของตนไปรับการบำบัดจากทันตแพทย

  7. ให้ทันตสุขศึกษา

          โรงเรียนทันตาภิบาลได้เปิดสอนนักเรียนทันตาภิบาลรุ่นแรกเมื่อ เดือนกรกฎาคม 2511          

          โรงเรียนทันตาภิบาลมีหลักการคล้ายๆคลึงกับ Dental Nurse ของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2468 และประเทศที่ดำเนินการโครงการนี้ไปแล้วก่อนประเทศไทย(ปี 2520) มีดังนี้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ฮ่องกง และอินโดนีเซีย และภูมิภาคอื่นๆ เช่น อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย

bottom of page